วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จอภาพ (Monitor)

Hardwere

จอภาพ (Monitor)

            
  
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต

               การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพจำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

                 
                        LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม

                  สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ

-Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)

-Thin Flim Transistor (TFT)

                  จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN


ข้อควรจำ

                  ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ



                   จอคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำดหรับจอคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel ลักษณะภายนอกของจอคอมพิวเตอร์ก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอคอมพิวเตอร์มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอคอมพิวเตอร์แสดงผล ปัจจุบันมีการพัฒนาจอคอมพิวเตอร์ออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้


1. จอคอมพิวเตอร์สีเดียว (Monochrome Monitor)

จอคอมพิวเตอร์ที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอคอมพิวเตอร์สีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว



2. จอคอมพิวเตอร์หลายสี (Color Monitor)

จอคอมพิวเตอร์ที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี

 3. จอคอมพิวเตอร์แบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)ข้อควรจำ
จอคอมพิวเตอร์ผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น Active matrix จอคอมพิวเตอร์สีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย Passive matrix color จอคอมพิวเตอร์สีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic


พลาสมา ดิสเพลย์ (Plasma Display) คือ จอภาพที่ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอนมีชั้นผนัง (Rib) คอยกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของ Plasma Display จะมีการเรืองแสงขึ้นเอง เหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้นทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรื่องแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเลตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้

                     หัวใจของเทคโนโลยี Plasma Display จึงอยู่ที่พลาสมาทุกหน่วยที่มาประกอบ เซลล์แสงภายในแผ่นแก้วของจอ Plasma Display จะแยกอิสระแต่ทำงานร่วมกัน โดยมี Pure Vision Cell Size ที่อยู่ 0.286 X 0.808 มม.

                      ในจอ Plasma Display แบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะประกอบขึ้นจากเซลล์สี 3 เซลล์คือ แดง เขียว น้ำเงิน ดังนั้นความแตกต่างพื้นฐานประการหนึ่งระหว่างจอ Plasma Display กับ CRT แบบโทรทัศน์ธรรมดาทั่วไป จึงอยู่ตรงที่ Plasma Display (และ LCD) จะดูค่าความละเอียดที่จำนวนพิกเซล ขณะที่ CRT จะดูที่ความเร็วในการสแกนภาพ

                    ยังมีความแตกต่างอีกหลายประการที่ทำให้จอ Plasma Display โดดเด่นกว่าจอภาพ CRT เช่น ขนาดที่สามารถผลิตได้ใหญ่กว่า ความละเอียดของคุณภาพสูงกว่า
คุณภาพในแง่ต่างๆ ของภาพดีกว่า รวมไปถึงนำหนักที่เบากว่า และปลอดจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
                    ปัจจุบัน จอภาพ พลาสมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถทำได้ขนาดใหญ่ที่สุด 103 นิ้ว ส่งสัญญาณภาพด้วยระบบ Full High Definition แสดงภาพได้ 1080p ผลิตโดยบริษัท มัตสุซิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด (Panasonic) ในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นโรงงานที่ผลิตจอภาพพลาสมา ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จอภาพผลึกเหลว (อังกฤษ: Liquid crystal display หรือ LCD) เป็นอุปกรณ์จอภาพแบบแบน บาง สร้างขึ้นจากพิกเซลสี หรือพิกเซลโมโนโครมจำนวนมาก ที่เรียงอยู่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง หรือตัวสะท้อนแสง นับเป็นจอภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นแบตเตอรี่
 
                       แต่ละพิกเซลของจอผลึกเหลวนั้นประกอบด้วยชั้นโมโลกุลผลึกเหลวที่แขวนลอยอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าโปร่งแสงสองขั้ว ที่ทำด้วยวัสดุอินเดียมทินออกไซด์ (Indium tin oxide) และตัวกรอง หรือฟิลเตอร์แบบโพลาไรซ์สองตัว แกนโพลาไรซ์ของฟิลเตอร์นั้นจะตั้งฉากกัน เมื่อไม่มีผลึกเหลวอยู่ระหว่างกลาง แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่งก็จะถูกกั้นด้วยตัวกรองอีกตัวหนึ่ง
ก่อนที่มีการจ่ายประจุไฟฟ้าเข้าไป โมเลกุลผลึกเหลวจะอยู่ในสภาวะไม่เป็นระบบ (chaotic state) ประจุบนโมเลกุลเหล่านี้ทำให้โมเลกุลทั้งหลายปรับเรียงตัวตามร่องขนาดเล็กจิ๋วบนขั้วอิเล็กโตรด ร่องบนขั้วทั้งสองวางตั้งฉากกัน ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เรียงตัวในลักษณะโครงสร้างแบบเกลียว หรือไขว้ (ผลึก) แสงที่ผ่านทะลุตัวกรองตัวหนึ่ง จะถูกหมุนปรับทิศทางเมื่อมันผ่านทะลุผลึกเหลว ทำให้มันผ่านทะลุตัวกรองโพลาไรซ์ตัวที่สองได้ แสงครึ่งหนึ่งถูกดูดกลืนโดยตัวกรองโพลาไรซ์ตัวแรก แต่อีกครึ่งหนึ่งผ่านทะลุตัวกรองอีกตัว
                       เมื่อประจุไฟฟ้าถูกจ่ายไฟยังขั้วไฟฟ้า โมเลกุลของผลึกเหลวก็ถูกถึงขนานกับสนามไฟฟ้า ทำให้ลดการหมุนของแสงที่ผ่านเข้าไป หากผลึกเหลวถูกหมุนปรับทิศทางโดยสมบูรณ์ แสงที่ผ่านทะลุก็จะถูกปรับโพลาไรซ์ให้ตั้งฉากกับตัวกรองตัวที่สอง ทำให้เกิดการปิดกั้นแสงโดยสมบูรณ์ พิกเซลนั้นก็จะมืด จากการควบคุมการหมุนของผลึกเหลวในแต่ละพิกเซล ทำให้แสงผ่านทะลุได้ในปริมาณต่างๆ กัน ทำให้พิกเซลมีความสว่างแตกต่างกันไป
โดยปกติการปรับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อพิกเซลโปร่งแสง เมื่อพักตัว และทึบแสงเมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดผลตรงกันข้าม สำหรับเอฟเฟกต์แบบพิเศษ
ชนิดของจอภาพ


• TN+Film (Twisted Nematic) เป็นเทคโนโลยีของจอผลึกเหลว ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน พัฒนาจนสามารถทำให้มีความเร็วของการตอบสนองด้วยความเร็วสูงเพียงพอที่จะทำให้เงาบนภาพเคลื่อนไหวลดลงได้มาก ทำให้จอแบบ TN+Film มีจุดเด่นด้านการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว (จอTN+Film จะใช้การวัดการตอบสนอง เป็นแบบ grey to grey ซึ่งจะแตกต่างจากค่า ISO ที่วัดแบบ black to white) แต่จุดเสียของจอแบบ TN+Film นั่นคือมีรัศมีการมองเห็นที่แคบ โดยเฉพาะแนวตั้ง และส่วนใหญ่จะไม่สามารถแสดงสีได้ครบ 16.7ล้านสี (24-bit truecolor)

• IPS (In-Plane Switching) คิดค้นโดยบริษัท Hitachi ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นกว่า TN+Film ทั้งด้านรัศมีการมองเห็น และการแสดงสีที่ 8-bit แต่การปรับปรุงดังกล่าว ทำให้เกิดการตอบสนองที่ชักช้า ถึง 50ms และยังแพงมากอีกด้วย
                        จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 Hitachi ได้นำระบบ S-IPS (Super-IPS) ออกมาแทนที่ระบบ IPS เดิม ซึ่งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการตอบสนองที่ดีขึ้น และสีสันที่ไกล้เคียงจอภาพแบบ CRT พบได้ในโทรทัศน์ระบบจอผลึกเหลว
 
• MVA เป็นการรวมข้อดีระหว่าง TN+Film กับ IPS เข้าด้วยกันทำให้มี Response Time ที่ต่ำ และ View Angle ที่กว้างเป็นพิเศษ แต่มีราคาแพงมาก


• PVA เป็นการพัฒนาจากแบบ MVA ให้มีราคาถูกลงซึ่งทำให้มีค่า Contrast Ratio ที่สูงมาก และมี Response Time ที่ต่ำ ใช้ในจอภาพแบบผลึกเหลวระดับสูง






แบบทดสอบเรื่อง จอภาพ "Monitor"

1.)"มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว" ข้อความนี้เป็นชนิดของมอนิเตอร์แบบใด

1.)Display Adapter Card
2.)Video Graphics Array
3.)Super Video Graphics Array
4.)Liquid Crystal Display

2.)"สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาต่างๆ"ได้แก่ชนิดใดบ้าง

1.)Television,Adapter
2.)Modem,Lan connection
3.)Notebook ,PDA
4.)I Phone,Black berry

3.)จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่ออะไร

1.)แก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN
2.)เพื่อปรับปรุงให้รูปร่างเล็กลลง
3.)เพื่อทันสมัยกว่าจอ LCD ในปัจจุบัน
4.)เพื่อประกอบให้เข้ากับระบบ Thin Film Adaptaion

4.)จอคอมพิวเตอร์สีเดียว (Monochrome Monitor) ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ
1.) 7กับ8
2.) 0กับ1
3.)-1กับ0
4.) 0กับ2

5.)จอคอมพิวเตอร์หลายสีรับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ ได้แก่สัญญาณอะไร
1.) ดำ แดง ฟ้า และเงา
2.) ม่วง เหลือง เขียว และ แสง
3.) แดง เขียว น้ำเงิน และ ความสว่าง
4.) ส้ม ชมพู ขาว และ รังสี

6.)จอคอมพิวเตอร์ผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทอะไรเป็นส่วนใหญ่
1.) ใหญ่
2.) พกพา
3.) หลวม
4.) ถนัดมือ

7.)จอคอมพิวเตอร์แบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า
1.) TFT – Thin Film Transistor
2.) Plasma Display
3.) Full High Definition
4.) Twisted Nematic

8.)ในจอ Plasma Display แบบสี ภาพจะถูกสร้างขึ้นจากจุดหลายๆ จุด แต่ละจุดเรียกว่าอะไร
1.) ไฟล์
2.) ดอท
3.) พิกเซล
4.) เอ็กแพรส

9.)ปัจจุบัน จอภาพ พลาสมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถทำได้ขนาดใหญ่ที่สุดกี่นิ้ว
1.) 250 นิ้ว
2.) 404 นิ้ว
3.) 370 นิ้ว
4.) 103 นิ้ว

10.)IPS (In-Plane Switching) ระบบนี้คิดค้นโดยบริษัทชื่อว่าอะไร
1.) Misubishi
2.) Hitachi
3.) Hatari
4.) toshiba



เฉลย 1.)4 2.)3 3.)1 4.)2 5.)3 6.)2 7.)1 8.)3 9.)4 10.)2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น